วิธีหารายได้เสริม กับแนวทางการขายบทความทางอินเตอร์เน็ต (ภาค 2)

วิธีหาเงินจากการเขียนบทความขาย
จากบทความที่แล้วเรื่อง วิธีหารายได้เสริมจากการเขียนบทความขายบนบนอินเตอร์เน็ต ผู้อ่านคงได้รู้ถึงวิธีการเขียนบทความและการวางโครงสร้างรวมไปถึงแนวทางในการเขียนบทความแต่ละประเภทกันแล้วใช่ไหมครับ เนื้อหาภาคนี้ จึงเป็นภาคต่อว่าด้วยเรื่องช่องทางการเปลี่ยนงานเขียนของเราให้เป็นรายได้และผลักดันผลงานของเราให้เป็นธุรกิจทำเงินที่ยั่งยืนครับ

2 ขั้นตอนการหารายได้เสริมจากการเขียนบทความ

1. สร้างผลงานออกมาจากสิ่งที่ชอบและถนัด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของนักขียนมือใหม่ทุกคน เพราะการเขียนบทความจากความชอบ ความหลงไหล ความถนัด จะเป็นงานที่ออกมาอย่างธรรมชาติและสมบูรณ์ที่สุดโดยถูกกลั่นกรองและตกผลึกจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียนโดยตรง ขั้นตอนนี้ควรหมั่นฝึกเขียนทุกวันให้เกิดความชำนาญในการเขียนและการใช้ภาษา อย่างที่บอกไปครับ การเขียนบทความควรเขียนด้วยความรักและความถนัด โดยความถนัดของแต่ละบุคคลก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะมีความรู้ในเชิงลึกในเรื่องต่างๆ เช่น

- การลงทุนในหลักตลาดทรัพย์ 
- วิธีการค้าการขาย 
- การเกษตร 
- ยานยนต์/พาหนะ 
- การใช้ภาษาต่างประเทศ 
- วิชาการ ความรู้

เมื่องานเขียนที่ถูกสร้างออกมาอย่างสดใหม่ตามโครงสร้างอย่างถูกต้อง ก็ถึงวิธีการปล่อยของครับ

2. หาช่องทางในการสร้างรายได้จากการขายบทความ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นายอาชีพเรียกว่าการปล่อยของครับ ถึงขั้นนี้นักเขียนอิสระอย่างเราๆเริ่มมีทักษะและความชำนาญทางด้านการเขียนพอสมควร คราวนี้ก็ได้เวลาหารายได้จากผลงานที่สร้างมากับมือเสียทีครับ

ช่องทางในการหารายได้จากการเขียนบทความ หลักๆที่เป็นที่นิยม มี 2 ช่องทาง มีดังนี้ครับ

- การรับจ้างเขียนบทความ - 
โดยหลังจากเราทำการโปรโมทหรือประกาศตัวเองตามเว็บไซต์ต่างๆให้โลกได้รับว่าเรารับจ้างเขียนบทความ จากนั้นไม่นานก็จะมีลูกค้าติดต่อเราครับ ลูกค้าโดยส่วนใหญ่จะมีอาชีพเป็นเว็บมาสเตอร์ที่ดูแลเว็บไซต์ต่างๆที่ไม่มีเวลาอัพเดตข้อมูลในเว็บไซต์ของตนเอง ลองคิดดูนะครับว่าในประเทศไทยและต่างประเทศมีเว็บไซต์อยู่เป็นล้านๆเว็บไซต์ อนาคตในการหารรายได้เสริมในวงการนี้ยังอีกยาวไกลครับ ซึ่งถ้าเราเขียนงานได้ดีและส่งงานเร็ว ลูกค้ามักชื่นชมและบอกกันปากต่อปาก เมื่อลูกค้าเหนียวแน่น การเขียนบทความก็กลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินครับ

ราคาในการซื้อขายบทความ
บทความภาษาไทย ก็อยู่ในเรท 400 - 500 คำ อยู่ที่ราคา 50-60 บาท โดยส่วนใหญ่ผู้เขียนมักจะรับงานเขียนบทความขั้นต่ำประมาณ 5 บทความต่อลูกค้าหนึ่งคน

บทความภาษาอังกฤษ ก็จะแพงหน่อยครับ อยู่ในเรท 400 - 500 คำ ราคาประมาณ 300 - 450 บาท นับว่าเป็นรายได้ที่ไม่เลวเลยทีเดียว

กฏเหล็กอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนควรตระหนักไว้ คืออย่ารับงานจนเกินตัว เพราะถ้าผู้เขียนส่งงานให้ลูกค้าไม่ทัน เราจะเสียลูกค้าและผลเสียจะตามมาอย่างร้ายแรง สำหรับผมมันคือ ความเสียหายทางด้านธุรกิจที่ประเมินค่ามิได้ครับ

- การรวมบทความทั้งหมดเป็นเล่มเดียวแล้วทำเป็น E-Book -
รายได้จากช่องทางนี้จะเป็นในลักษณะที่นักเขียนอิสระ เขียนผลงานออกมาเป็นหลายๆบทและนำมารวมเป็นเล่มเดียว ลักษณะบทความใน E-Book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) ส่วนใหญ่จะเป็นบทความที่มีประโยน์เฉพาะทาง สาเหตุผู้ที่ลงทุนยอมซื้อ E-Book ของเราไป ผู้ซื้อมักจะสามารถนำความรู้จาก E-Book ไปใช้ประโยน์ได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งครับ ส่วนขั้นตอนและวิธีการซื้อขายอีบุ๊ค ก็เป็นดังนี้ครับ ลูกค้าที่ต้องการจะซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) จะโอนเงินเข้าไปในบัญชีธนาคารของนักเขียนหรือจ่ายผ่านบัตรเครดิต หรือ Paypal  หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงจะได้สิทธิ์ เข้าไปดาวน์โหลด E-Book เป็นของตนเอง ราคาในการซื้อขายอีบุ๊คนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนรวมไปถึงความยากง่ายในการเขียน ราคาอาจจะเริ่มต้น ตั้งแต่ หลักร้อยจนถึงหลักพันต่อการดาวน์โหลดเพียงครั้งเดียว  ในประเทศสหรัฐอเมริกานักเขียนส่วนใหญ่ นิยมขาย E-Book กันมาก เพราะการขายอีบุ๊ค สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ นักเขียนออนไลน์หลายๆคนมีรายได้หลักแสนหรือหลักล้านบาทจากยอดการดาวน์โหลด E-Book ในแต่ละเดือนเลยทีเดียว ลองคิดดูครับ ในระหว่างที่นักเขียนออนไลน์เดินทางท่องเที่ยวหรือแม้แต่นอนหลับพักผ่อน ก็ยังมีผู้คนเข้าไปดาวน์โหลดอีบุ๊คของเราอยู่เรื่อยๆ ก็เท่ากับว่ามีเงินไหลเข้ามาอยู่ตลอดเวลา การขาย E-Book จึงถือเป็นธุรกิจทำเงินที่สามารถเรียกว่าเป็น Passive income เลยก็ว่าได้

ถึงตอนนี้เพื่อนๆคงพอจะมองเห็นภาพรวม ในการหารายได้เสริมจากการเขียนบทความแล้วใช่ไหมครับ ว่าแนวทางและขั้นตอนในการเริ่มต้นการเป็นนักเขียนไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย ขอแค่ให้เราฝึกฝนและลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดทักษะและความชำนาญ การหารายได้เสริมที่ทำเงินก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป งานเขียนสามารถทำที่ไหนก็ได้ครับ จะทำที่บ้าน ท่องเที่ยวไปเขียนไปก็ไม่มีใครว่า ไม่ต้องกลัวโดนเจ้านายด่า ไม่ต้องทนรถติด  เพราะเราเป็นนายตัวเองครับ แล้วพบกันใหม่ครับ กับนายอาชีพ ใน Blog ช่องทางทำเงิน อาชีพเสริมทำเงิน  วันนี้เขียนมาซะยาวเลย ต้องขอตัวพักผ่อนก่อน ขอให้ร่ำรวยเงินทองกับธุรกิจที่ทำเงินนะครับ พี่น้องชาวไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง
"วิธีหารายได้เสริม จากการเขียนบทความขายบนอินเตอร์เน็ต (ภาค 1)"

ผู้เขียน: นายอาชีพ
photo by 401(K) 2012 on flickr

วิธีหารายได้เสริม จากการเขียนบทความขายบนอินเตอร์เน็ต (ภาค 1)

อาชีพอิสระ เขียนบทความขาย
สวัสดีครับเพื่อนๆ พบกันอีกครั้งกับนายอาชีพที่ Blog ช่องทางทำเงิน อาชีพเสริมทำเงิน วันนี้นายอาชีพจะมาแนะนำช่องทางทำเงินอีกหนึ่งช่องทาง เรื่องที่จะแนะนำในวันนี้คือ การเขียนบทความเพื่อนำมาขายหรือหารายได้ในอินเตอร์เน็ตกันครับ บทความนี้น่าจะถูกใจนักเขียนอิสระหรือนักเขียนออนไลน์ที่ชอบสร้างเนื้อหาหรือเรื่องสั้นเป็นงานอดิเรกแต่ยังไม่รู้วิธีการปล่อยของหรือวิธีการขายผลงานของตัวเอง

สำหรับมือใหม่หัดเขียนอาจจะมองเป็นเรื่องยากสักหน่อยกับการเริ่มต้นเขียนบทความ และแน่นอนว่าต้องมีคำถามผุดขึ้นมากมายในหัวสมอง เช่น เขียนเรื่องอะไรดี? เขียนไปจะมีใครอ่านไหม? รายได้มาจากไหน? เขียนเสร็จแล้วจะขายได้ที่ไหน? อยากเขียนแต่ไม่มีเวลาทำไงดี? การคิดในเชิงลบแบบนี้จะส่งผลให้งานของเราไม่เกิดขึ้นสักทีนะครับ ดังนั้นถ้ามีใจรักในการเขียน ควรเริ่มต้นและลงมือทำในทันที เปรียบเหมือนกับการเริ่มหัดปั่นจักรยาน ในครั้งแรกอาจจะมีสะดุด แต่พอเป็นแล้วก็ลื่นไหลไม่มีวันลืม บทความในวันนี้นายอาชีพจึงแนะนำประเด็นหลักๆ ถึงวิธีการเขียนบทความ และวิธีหารายได้จากขายบทความของเราครับ

ก่อนอื่นนักเขียนออนไลน์มือใหม่ต้องรู้ก่อนนะครับว่า โครงสร้างในการเขียนบทความเป็นอย่างไร และบทความถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและประเภทไหนเป็นแนวทางที่เหมาะกับตัวเรา

วิธีการวางโครงสร้างในการเขียนบทความ 
เหตุผลที่ต้องวางโครงสร้างก็เพื่อเป็นกรอบและแนวทางจะได้ไม่หลงทาง นักเขียนทุกคนจงจำให้ดี
1. ชื่อเรื่อง
2. เกริ่นนำ หรือ คำนำ
3. เนื้อเรื่อง
4. สรุปส่งท้ายบทความ

บทความแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท
นักเขียนมือใหม่ต้องรู้และหาแนวทางตามความชอบและความถนัดของตนเองว่าจะเขียนแนวไหน
1. บทความประเภทแนะนำ หรือ ประเภท How to  เช่น บทความที่สอนถึงวิธีการหารายได้เสริม วิธีการปลูกพืชไร้ดิน วิธีลงทุนในหุ้น วิธีการพูดภาษาอังกฤษ อื่นๆ
2. บทความที่แสดงออกทางด้านความคิดเห็น เช่น บทความการรีวิวการใช้สินค้าต่างๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ Tablet กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ มอเตอร์ไซต์  อื่นๆ
3. บทความเชิงวิชาการที่ให้ความรู้ เช่น บทความทางด้านการศึกษา บทความทางการแพทย์ บทความทางด้านกฏหมาย อื่นๆ
4. บทความแนววิเคราะห์ เช่น บทความการวิเคราะห์การเงิน/หุ้น วิเคราะห์การเศรษรฐกิจ วิเคราะห์สังคม วิเคราะห์การเมือง อื่นๆ

อ่านถึงตรงนี้ เพื่อนๆคงได้รู้แล้วนะครับว่า โครงสร้างของบทความเป็นอย่างไร เริ่มต้นและจบลงแบบไหน และได้รู้ว่าบทความมีกี่ประเภท สิ่งที่นายอาชีพ อยากจะให้เพื่อนๆทำตอนนี้ก็คือ ให้เพื่อนๆเลือกว่าตนเองเหมาะกับการเขียนบทความรูปแบบใด เพราะความถนัดและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน การสร้างรายได้จากการเขียนบทความจึงต้องเริ่มต้นจากความถนัดและใจรักก่อนครับ

อ่านต่อ
"วิธีหารายได้เสริม กับแนวทางการขายบทความ บนอินเตอร์เน็ต (ภาค 2)

ผู้เขียน: นายอาชีพ
Photo by Charles J Danoff on flickr

4 อาชีพเสริมทำเงิน ที่ยังคงมาแรงถึงยุคนี้

อาชีพที่ทำเงินในยุคนี้
พบกับนายอาชีพอีกเช่นเคยกับ blog ช่องทางทำเงิน อาชีพเสริมทำเงิน วันนี้นายอาชีพจะมาวิเคราะห์อาชีพที่ยอดฮิตและยอดนิยมของคนไทยในยุคนี้ กันครับ พูดถึงโลกของเราทุกวันนี้มันแคบลงนะครับ คงเป็นเพราะระบบการติดต่อสื่อสารทุกวันนี้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส อีกทั้งประชาคมโลกได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อจุดประสงค์ หลายๆด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง อาชีพใหม่ๆจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายช่องทางทำเงินจึงมีมากตามมาด้วยในยุคนี้

4 อาชีพเสริมทำเงิน ยอดฮิตและมาแรงที่ยังคงติดลมบนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

1. สอนพิเศษ ติวเตอร์ ทางด้านภาษา (Tutor)
อาชีพสอนพิเศษ หรือ ติวเตอร์ จริงๆแล้วเป็นอาชีพเสริมยอดนิยมมานานแล้ว แต่ในช่วงปีสองปีนี้ อาชีพนี้จะมาแรงเป็นพิเศษ เนื่องจากการตื่นตัวและต้องเตรียมพร้อมการเข้าสู่ AEC หรือประชาคมเศษรฐกิจอาเซียน ที่กำลังจะเข้ามาในปี 2558 หลายๆคนเริ่มเล็งเห็นความสำคัญทางด้านการสื่อสารทางด้านภาษาอังกฤษ เด็กเล็ก เด็กโต รวมถึงผู้ใหญ่จึงหาที่เรียนกันยกใหญ่ ช่วงนี้จึงถือเป็นยุคทองของอาชีพติวเตอร์ที่สอนภาษาอังกฤษ ถ้าสังเกตุดีๆสถาบันสอนภาษาได้เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด อาชีพสอนพิเศษจึงยังคงถือว่าเป็นอาชีพที่มาแรงเหมือนเดิม

2. ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือแปลเป็นไทยแบบตรงๆก็คือ "การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" ในยุคที่อินเตอร์เนตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและได้กลายมาเป็นส่วนหนึงของชีวิตเรา อินเตอร์เนตได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของสังคมเมืองเป็นอย่างมาก การซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เนตมีมากขึ้น ผู้ประกอบกาทั้งรายใหญ่และรายย่อยเริ่มหันมาปรับตัวโดยหันมาทำการตลาดแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านค้า การโฆษณาและกระจายสินค้า สินค้าที่ยอดฮิตและเป็นที่นิยมที่ซื้อขายบนโลกอินเตอร์เนต เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอางค์ มือถือ และอื่นๆอีกมากมาย สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้เกิดผลดีกับผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนผู้ซื้อก็มีตัวเลือกมากขึ้น เพียงปลายนิ้วสัมผัสก็สามารถหาข้อมูลสินค้าเพื่อเลือกซื้อและเปรียบเทียบราคาได้อย่างรวดเร็ว เป็นการประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนต่างๆได้ดีทีเดียวสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น ผู้ที่ทำอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จึงเป็นอาชีพที่มาแรงและจะยังคงแรงอีกต่อไปตราบใดที่มนุษย์ยังใช้ internet


3. ฟรีแลนซ์ (Freelance) ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพอิสระที่หลายๆคนใฝ่ฝัน เพราะเป็นอาชีพที่ไม่ต้องอยู่ในกรอบและกฏของใคร อาชีพฟรีแลนซ์เป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ หลายๆคนลาออกจากงานประจำเพื่อมาประกอบอาชีพฟรีแลนซ์เพราะรายได้ดีและทำเงินเป็นอย่างมาก แต่การจะทำอาชีพอิสระแบบนี้ได้ หาใช่ทำได้ง่ายๆนะครับ เพราะคนที่จะเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพ ต้องเป็นคนที่มีฝีมือและความชำนาญในด้านนั้นๆพอสมควร เพราะถ้าไม่เจ๋งพอก็คงอยู่ไม่ได้ อาชีพที่เป็นที่นิยมของชาวฟรีแลนซ์ ก็มีหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างดังนี้ครับ เช่น นักเขียน ช่างภาพ นักออกแบบ คนทำเว็บไซต์ นักการตลาดออนไลน์  และอีกมากมาย คนทำงานประจำหลายๆคนรับงานฟรีแลนซ์เป็นอาชีพเสริมหลังเลิกงาน ถ้าแบ่งเวลาเป็นก็เท่ากับว่าคนเหล่านั้นมีรายได้ถึงสองทาง ดังนั้นฟรีแลนซ์จึงเป็นอาชีพเสริมที่ทำเงินและมาแรงอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2014

4. นักลงทุน (Investor) ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสนใจกับการลงทุนเป็นอย่างมาก คนทำงานประจำหลากหลายอาชีพหันมาเป็นนักลงทุนกันมากขึ้น นักลงทุนในที่นี้คือกลุ่มคนที่นำเงินเก็บหรือเงินออมของตนเองมาลงทุนในด้านต่างๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม ทองคำ พัธบัตรรัฐบาล อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยการเลือกลงทุนของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันไป เป้าหมายของนักลงทุนก็คือกำไรจากการลงทุน โดยส่วนต่างที่งอกเงยจากการลงทุนด้านนั้นๆคือกำไรนั่นเอง หลายๆคนประสบความสำเร็จจากการลงทุน แต่ก็มีหลายคนขาดทุนเช่นกัน ดังนั้นการจะเป็นนักลงทุนที่ดีและประสบความสำเร็จได้นั้น นักลงทุนควรจะต้องมีความรู้ในด้านนั้นๆพอสมควร มีนักลงทุนหน้าใหม่เกิดขึ้นในทุกวัน ทั้งที่เป็นนักลงทุนชาวไทยและนักลงทุนต่างชาติ จำนวนนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นตัวชี้วัดว่า อาชีพนักลงทุนยังคงแรงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างไม่ต้องสงสัยเลย

ช่องทางทำเงิน นั้นมีอยู่มากมาย อยู่ที่ว่าใครเห็นโอกาสและลงมือทำ การสะสมความรู้ความชำนาญจนเกิดทักษะถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน แม้โลกจะเปลี่ยนและหมุนเร็วแค่ไหน คนเหล่านี้เมื่อไปอยู่ที่ใด ย่อมไม่มีคำว่าอดตายอย่างแน่นอน

ผู้เขียน: นายอาชีพ
Photo by Robin Tobin on flickr


3 เหตุผลหลัก ที่ต้องหาอาชีพเสริม ก่อนที่จะสายเกินไป

อาชีพเสริม
สวัสดีครับเพื่อนๆ พบกับนายอาชีพ อีกเช่นเคยใน blog อาชีพเสริมทำเงิน วันนี้นายอาชีพ จะมาพูดถึงเหตุผลที่เราต้องหาอาชีพเสริม ก่อนที่จะสายเกินไป และทำไมต้องพูดถึงเรื่องนี้

เหตุผลง่ายๆครับ เพราะค่าครองชีพทุกวันนี้สูงเหลือเกิน อีกทั้งการแข่งขันเรื่องปากเรื่องท้องก็สูงไม่แพ้กันด้วย ที่สำคัญ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า AEC ที่จะเข้าในปี 2558 นี้ทำให้กลุ่มอาเซียน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี สิ่งนี้แหละที่ทำให้เราต้องรีบปรับตัวในทุกๆด้าน หลายๆคนตื่นตัวกับเรื่องนี้ และก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังนิ่งนอนใจเพราะคิดว่าคงไม่มีผลกระทบอะไรมากนักกับชีวิต..

3 เหตุผล ที่ต้องรีบหาอาชีพเสริมมาเพิ่มรายได้

1. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน ด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่รายได้ยังเท่าเดิม เรื่องนี้มีผบกระทบเป็นอย่างมากต่อระบบการวางแผนทางการเงิน หลายๆคนเริ่มเป็นหนี้สิน เมื่อรายจ่ายนั้นมีมากกว่ารายได้ บางคนโชคดีหน่อยเป็นหนี้ในระบบ แต่ถ้าเป็นหนี้นอกระบบเมื่อไหร่ ก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น ข้อนี้จึงถือเป็นเหตุผลหลักที่ต้องหาอาชีพเสริมเพื่อมาเพิ่มรายได้และมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอนั่นเอง

2. เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ไม่ว่าอาชีพเสริมทางด้านไหนที่ท่านเลือก เมื่อท่านทำไปแล้ว รับรองว่าจะเกิดทักษะและความชำนาญในด้านนั้น ท่านสามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจได้ ยกตัวอย่าง การไปเรียนทำเบเกอรี่ หลังจากที่ท่านเรียนไปแล้ว ท่านสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสูตรต่างๆให้กับเบเกอรี่ของท่านมีมูลค่าที่สูงขึ้นไปอีก หลักจากนั้นก็ทำการตลาด อาจจะเปิดร้าน หรือกระจายสินค้าไปในจุดต่างๆ หรือถ้าท่านชอบงานเสริมเกี่ยวกับช่าง เมื่อท่านไปเรียนวิชาช่างตามศูนย์ฝึกอาชีพระยะสั้น และเมื่อท่านเรียนจบ นอกจากท่านจะได้ความรู้ความชำนาญ ท่านสามารถนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพ อาจจะเปิดร้านเล็กๆ หรือถ้าเกิดความชำนาญและมีฝีมือ ก็สามารถโกอินเตอร์ได้เลย เพราะ AEC เปิดโอกาสให้เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออยู่แล้ว

3. เพื่อรองรับความไม่แน่นอน ข้อนี้เป็นที่รู้กันดีว่าโลกใบนี้ไม่มีอะไรที่แน่นอน งานประจำที่ทำอยู่รายได้ดีก็จริง แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าพรุ่งนี้ เราหมดสัญญาจ้าง โดนปลดออก หรือบริษัทที่ทำมีปัญหา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ถ้าเรามีอาชีพเสริมที่สามารถทำเงินให้เราได้ ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินก็คงทะเลาไปได้บ้าง

เรื่องเล่าจากประสบการณ์ที่เห็นมาจริง
เมื่อครั้งยังวัยรุ่น นายอาชีพ มีเพื่อนบ้านคนนึง มีอาชีพเป็น Sale ขายยาตามโรงพยาบาลและร้านขายยา ตอนนั้นเงินเดือนและค่าคอมมิสชั่นของชายผู้นี้ รายได้รวมแล้วก็ตกประมาณ 3 - 4 หมื่นบาท เค้ามีภรรยาและลูกสาว1คน พูดไปแล้ว เงินจำนวนนี้ ก็อยู่ได้อย่างสบายๆกับครอบครัวเล็กๆที่แสนอบอุ่น

เรื่องนี้เหมือนจะจบแบบสวยงาม..

วันเวลาผ่านไป...ชายผู้นี้ก็อายุมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาทางบริษัทก็หาทางบีบพนักงานทีมีอายุมากออก โดยอ้างว่าผลประกอบการของบริษัทติดลบและอาจจะต้องปิดตัวลง จึงต้องปลดพนักงานออกเพราะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว ด้วยความที่ไม่ได้เตรียมตัวและเตรียมใจกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เงินที่เก็บออมเอาไว้ก็ค่อยๆหมดไปเพราะต้องมีรายจ่ายอยู่ทุกๆวัน จะหาอาชีพเสริมทำ ก็ไม่มีความรู้เพราะไม่เคยคิดจะทำมาก่อน บ้านยังผ่อนไม่หมด รถยังผ่อนไม่หมด อายุก็มากแล้ว ทุกอย่างพังลงมาเหมือนปราสาททราย ทุกวันนี้ เพื่อนบ้านผู้นี้มีอาชีพเป็นยามรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แกยังคงสู้ชีวิต ถึงแม้อายุจะมาก แต่ก็ต้องดิ้นรนต่อไป..เพื่อครอบครัว

ผู้เขียน: นายอาชีพ
Photo by K. Kendall on flickr

Popular